ผู้เขียน หัวข้อ: หมอออนไลน์: ครรภ์เป็นพิษ/โรคพิษแห่งครรภ์ (Toxemia of pregnancy)  (อ่าน 58 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 120
    • ดูรายละเอียด
หมอออนไลน์: ครรภ์เป็นพิษ/โรคพิษแห่งครรภ์ (Toxemia of pregnancy)

ครรภ์เป็นพิษ (โรคพิษแห่งครรภ์ ก็เรียก) หมายถึง ภาวะผิดปกติที่พบในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งประกอบด้วยอาการ 3 ประการร่วมกัน ได้แก่ อาการบวม ความดันโลหิตสูง และตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ

โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของหญิงตั้งครรภ์ มักมีอาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 5-6 เดือนขึ้นไป จนกระทั่งหลังคลอด 1 สัปดาห์

ครรภ์เป็นพิษยังแบ่งเป็น โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (preeclampsia) ซึ่งมีเพียงอาการบวม ความดันโลหิตสูง และมีสารไข่ขาวในปัสสาวะ ไม่มีอาการชักหรือหมดสติ กับโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก (eclampsia) ซึ่งจะมีอาการชักหรือหมดสติ อาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 5 ของโรคครรภ์แห่งพิษระยะก่อนชักอาจกลายเป็นโรคครรภ์แห่งพิษระยะชัก

หลังจากคลอดแล้วอาการของครรภ์เป็นพิษจะค่อย ๆ หายไปได้เอง

สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของรกซึ่งมีเลือดไปเลี้ยงได้น้อยกว่าปกติ อันอาจเนื่องมาจากมีเลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อย หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกมีความผิดปกติ มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

มักพบในหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรืออายุมากกว่า 40 ปี คนที่อ้วน ครรภ์แรก ครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก หญิงที่เคยเป็นครรภ์เป็นพิษมาก่อน หรือมีประวัติว่ามารดาหรือพี่สาวน้องสาวเป็นครรภ์เป็นพิษ และในผู้หญิงที่มีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เอสแอลอี โรคปวดข้อรูมาตอยด์ เป็นต้น)

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดตรงใต้ลิ้นปี่ บวมตามมือตามเท้าและใบหน้า

ในรายที่เป็นโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักในระยะรุนแรง จะพบความดันโลหิตสูงเกิน 160/110 มม.ปรอท อาจมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เอนไซม์ตับขึ้นสูงและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (เลือดออกง่าย มีจุดแดงจ้ำเขียวตามผิวหนัง) อาจมีอาการปวดตรงลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวารุนแรง เนื่องจากมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มตับ อาจมีอาการหายใจหอบ (เพราะปอดบวมน้ำ) ปัสสาวะออกน้อย (เพราะไตวายเฉียบพลัน)

ในรายที่เป็นโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก จะมีอาการชักหรือหมดสติ ซึ่งอาจเกิดก่อนคลอด ขณะคลอด หรือภายใน 1 สัปดาห์หลังคลอด


ภาวะแทรกซ้อน

อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ ของหญิงที่เป็นครรภ์เป็นพิษ เช่น ตามัว สายตาเลือนลาง (เนื่องจากความผิดปกติของจอประสาทตาหรือศูนย์การเห็นที่สมองส่วนท้ายทอย) ตับวาย ไตวาย ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) เซลล์สมองตายเนื่องจากสมองขาดเลือด เลือดออกในสมอง มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาในอนาคต

อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า "HELLP syndrome" ซึ่งประกอบด้วยภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (H - hemolysis) เอนไซม์ตับสูง (EL - elevated liver enzymes) และเกล็ดเลือดต่ำ (LP - low platelet count) ซึ่งเป็นภาวะร้ายแรง มีอันตรายต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์

ในรายที่ครรภ์เป็นพิษชนิดร้ายแรงหรือโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก (eclampsia) มีอัตราตายถึงร้อยละ 10-15


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้

ความดันโลหิตช่วงบน (ซิสโตลี) ≥ 140 มม.ปรอท หรือช่วงล่าง (ไดแอสโตลี) ≥ 90 มม.ปรอท (ถ้าช่วงบน ≥ 160 มม.ปรอท หรือช่วงล่าง ≥ 110 มม.ปรอท ก็ถือว่ารุนแรง)

เท้าบวม กดมีรอยบุ๋ม

อาจตรวจพบภาวะซีด จ้ำเขียว เลือดออก

นอกจากนี้ ยังอาจตรวจพบรีเฟล็กซ์ของข้อไว (hyperreflexia) หรือภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ซึ่งใช้เครื่องฟังปอดจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation)

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจปัสสาวะพบสารไข่ขาว (albumin) ซึ่งถ้ายิ่งมีมาก (ขนาด 3+ หรือ 4+) ก็ถือว่ายิ่งรุนแรง

นอกจากนี้อาจทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจเลือดพบเอนไซม์ตับ (AST, ALT) สารบียูเอ็นรวมทั้งครีอะตินีนขึ้นสูง และเกล็ดเลือดต่ำ การตรวจอัลตราซาวนด์ดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เป็นต้น


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษา ดังนี้

1. ในรายที่เป็นไม่มาก ไม่จำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล แนะนำให้นอนพักที่บ้านให้เต็มที่ทั้งวัน (การนอนพักจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังสมอง หัวใจ ตับ ไต และรกได้ดี อาการของโรคอาจทุเลาได้) และนัดผู้ป่วยมาตรวจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 2 วัน หรือส่งพยาบาลไปเยี่ยมบ้าน เพื่อประเมินอาการทุกวัน

ถ้าไม่ดีขึ้น หรือความดันช่วงบน ≥ 140 หรือช่วงล่าง ≥ 90 มม.ปรอท หรือมีปัญหาไม่สามารถติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยนอนพักให้เต็มที่ ทำการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจรีเฟล็กซ์ของข้อ ตรวจดูสารไข่ขาวในปัสสาวะ และฟังเสียงหัวใจทารกบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังต้องตรวจเลือด (ดูจำนวนเกล็ดเลือด อิเล็กโทรไลต์ บียูเอ็น ครีอะตินีน เอนไซม์ตับ) ทุก 1-2 วัน

ถ้าพบว่ามีความดัน ≥ 160/110 มม.ปรอท จะให้ยาลดความดัน เช่น ไฮดราลาซีน (hydralazine) 5-10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ควรควบคุมให้ความดันช่วงล่างอยู่ระหว่าง 90-100 มม.ปรอท (ถ้าลดต่ำกว่านี้อาจทำให้รกขาดเลือดไปเลี้ยงได้) ห้ามให้ยาลดความดันกลุ่มยาต้านเอช เพราะอาจทำให้ทารกพิการและมารดาไตวายได้ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาขับปัสสาวะโดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงรกได้ไม่ดี (ยกเว้นในรายที่มีปัสสาวะออกน้อยเนื่องจากไตวาย อาจให้ฟูโรซีไมด์)

ถ้าเป็นมาก อาจฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) เพื่อป้องกันอาการชักและช่วยลดความดัน

เมื่อครรภ์ใกล้กำหนดคลอด (มากกว่า 34 สัปดาห์) ควรหาวิธีทำให้เด็กคลอด โดยการใช้ยากระตุ้น หากไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

2. หากมีอาการชัก แพทย์จะฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต หรือไดอะซีแพมควบคุมอาการชัก และรีบทำการคลอดเด็ก หลังคลอดอาจต้องให้ยาป้องกันชักต่อไปอีก 1-7 วัน

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น หญิงที่ตั้งครรภ์มีอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้อาเจียน บวมตามมือตามเท้าและใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคครรภ์เป็นพิษ ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    บริโภคอาหารพวกโปรตีนให้มาก
    ลดการบริโภคเกลือและอาหารเค็ม
    ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8  แก้ว       


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลา 
    มีอาการปวดศีรษะมาก ปวดท้องมาก อาเจียนมาก หายใจหอบ ดีซ่าน ซีด จ้ำเขียว เลือดออกจากช่องคลอดหรือที่อื่น ๆ บวม ปัสสาวะออกน้อย หรือชัก 
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ


การป้องกัน

ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผล เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นครรภ์เป็นพิษมาก่อน ก่อนตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ลดน้ำหนักถ้าอ้วนหรือน้ำหนักเกิน รักษาโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง) ให้ได้ผล

เมื่อตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ แพทย์จะสามารถตรวจพบอาการครรภ์เป็นพิษและให้การดูแลรักษาตั้งแต่แรก ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนลงได้

ข้อแนะนำ

โรคนี้สามารถให้การดูแลรักษาให้ปลอดภัยได้ทั้งมารดาและเด็กในครรภ์ ถ้ามีการตรวจพบตั้งแต่เริ่มเป็น ดังนั้นจึงควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์ หมั่นชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรแนะนำไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล


 

Tage: ลงประกาศฟรี โฆษณาสินค้าฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ลงประกาศฟรี ติด google